ประวัติ
หลวงพ่อติ้ว หรือ พระติ้ว เมืองพนัสนิคม ท้าวศรีวิชัย (บางเอกสารเขียน “ศรีวิไชย”) อุปฮาดเมืองนครพนม เป็นโอรสในพระบรมราชา(ท้าวกู่แก้ว) เจ้าเมืองนครพนม อัญเชิญมาจากเมืองนครพนมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาบุตรผู้ใหญ่ชื่อ ท้าวอินทิสาร ปลัดลาวเมืองสมุทรปราการ ได้บรรดาศักดิ์ที่พระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรก (ต้นตระกูลทุมมานนท์) จึงอัญเชิญพระติ้วมาประดิษฐานไว้ที่วัดหัวถนน เมืองพนัสนิคมจนถึงปัจจุบัน
อนึ่ง จุลศักราช ๑๑๗๑ ฝ่ายที่เมืองนครพนมเมื่อ ณ เดือนอ้าย พระบรมราชา (มัง) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครพนมองค์ใหม่ อุปฮาดชื่อท้าวศรีวิไชยวิวาทกันขึ้น ด้วยบ่าวไพร่อุปฮาดไม่ยอมเป็นผู้น้อย จึงพาสมัครพักพวกบุตรหลานท้าวเพี้ยอพยพลงมาสวามิภักดิ์ ประมาณสองพันเศษ มาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ ณ เดือนยี่ โปรดให้ตั้งบ้านอยู่คลองมหาหงษ์ เมืองสมุทรปราการ ครั้นทำบัญชีตรวจดูได้ชายฉกรรจ์แปดร้อยหกสิบคน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งท้าวอินทิสาร บุตรผู้ใหญ่ของอุปฮาด เป็นปลัดลาวเมืองสมุทรปราการ จะได้ดูแลไม่ให้กรมการไทยข่มเหงลาว
หัวเมืองกรมท่านั้น พวกลาวอาสาปากน้ำตั้งขึ้นในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ภายหลังเมื่อปีชวด สัมฤทธิศก จ.ศ. ๑๑๙๐ พวกลาวไม่สบายขอไปตั้งอยู่เมืองพระรถ จึงโปรดเกล้าฯให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรามาตั้งเป็นเมืองพนัสนิคม ตั้งเจ้าเมืองเป็นพระอินทอาษา (บางเอกสารเขียน “อินทอาสา”)
พระพุทธรูป หลวงพ่อติ้ว เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย แกะจากไม้แต้ว (ชาวลาวเรียกไม้ติ้ว) โดยประดิษฐานห่างจากตัวอำเภอพนัสนิคมประมาณ 10 กิโลเมตรตามเส้นทางพนัสนิคม-สระสี่เหลี่ยม ณ วัดหัวถนน ตำบลหัวถนน อำเภอพนัสนิคม พอถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 19 เมษายน ของทุกปีจะมีการแห่องค์หลวงพ่อติ้ว ไปรอบหมู่บ้าน โดยเชื่อว่าจะช่วยดลบันดาลให้ประสบกับสิ่งที่หวังทุก ๆ ประการ
การเดินทางไป วัดหัวถนน ไหว้หลวงพ่อติ้ว