พระพนัสบดี เป็นพระพุทธรูปศิลาศิลปะสมัยทวารวดี ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ โดยสันนิษฐานว่าพระพนัสบดีองค์จริงนั้น สร้างขึ้นในสมัยทวารวดี และมีการสร้างพระพนัสบดีองค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระพระพนัสบดี อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามองค์หนึ่ง
==> พระพนัสบดี
ชาวพนัสนิคมส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพาณิชยกรรม และหัตถกรรมที่สร้างรายได้และชื่อเสียงให้กับชาวพนัสนิคมเป็นอย่างมากคือ “การจักสาน” เครื่องจักสานพนัสนิคมเป็นผลิตผลจากการใช้ไม้ไผ่มาเป็นวัสดุในการจัดทำ สามารถสร้างสรรค์เป็นรูปทรงและขนาดต่างๆ ใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น กระเป๋า ตะกร้า ฝาชี เครื่องประดับตกแต่งต่างๆ ฯลฯ
==> จักสาน
ประเพณีงานบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีงานบุญของชาวไทยกลุ่มวัฒนธรรมที่ราบลุ่มภาคกลาง มักจัดขึ้นในราวกลางเดือน 3 ถึงเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติไทย มักจะตกอยู่ในราวเดือนกุมภาพันธ์ ตามปฏิทินสุริยคติ
ประเพณีงานบุญกลางบ้าน ในปัจจุบัน จะจัดขึ้นหลังเสร็จสิ้นจากการเก็บเกี่ยวข้าวของเกษตรกรชาวนา โดยในแต่ละท้องถิ่นมีรายละเอียดการจัดประเพณีแตกต่างกันไป แต่ยังคงสาระหลักในการทำบุญกลางบ้าน เพื่อสร้างเสริมกำลังใจ และสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนชนบทเอาไว้สืบมาจนปัจจุบัน
==> งานบุญกลางบ้าน
วรรณกรรมเรื่องพระรถเมรี หรือพระรถเสน เชื่อกันว่าเป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย มีการเล่าสืบทอดต่อๆกันมา แบบมุขปาฐะ ก่อนจะมีการเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องหนึ่งในปัญญสชาดก หรือ พระเจ้า 50 ชาติ โดยพระเถระชาวเชียงใหม่ เพราะเค้าโครงเรื่องของพระรถเมรีนี้ มีความคล้ายคลึงกับนิทานพื้นบ้านชาติต่างๆ อาทิ อินเดีย ลังกา ไทยใหญ่ เขมร พม่า ลาว และอาหรับ เป็นต้น
==> พระรถเมรี
เมืองพนัสนิคมเป็นเมืองตัวอย่างเมืองที่มีสุขภาวะดี ได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาคอาเซียน รวมถึงได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ให้เป็น 1 ใน 1,000 เมืองระดับโลกที่ช่วยรณรงค์ด้านการพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของคนเมือง และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณจากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI AWARDs) ให้เป็นเทศบาลเมืองที่มีค่าดัชนีความน่าอยู่สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ จากดัชนีที่ใช้ชี้วัด 5 มิติ ได้แก่ มิติเมืองปลอดภัย มิติเมืองสะอาด มิติเมืองคุณภาพชีวิต มิติเมืองธรรมาภิบาล และมิติเมืองวัฒนธรรม ซึ่งรางวัลเหล่านี้ล้วนการันตีได้ว่าเมืองพนัสนิคมเป็นเมืองที่มีการจัดการที่ดี เหมาะแก่การศึกษาเพื่อเป็นแบบอย่างนำไปสู้การพัฒนาเมืองอื่น ๆ ต่อไป
==> เมืองสะอาด
ทายโจ๊ก เป็น การละเล่นพื้นบ้าน ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ปัจจุบันการละเล่นชนิดนี้กลับไม่เป็นที่รู้จักและหาชมได้ยากเต็มที เนื่องจากถูกทดแทนด้วยวัฒนธรรมต่างชาติและความบันเทิงรูปแบบใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า
การละเล่น ทายโจ๊ก คือการเล่นทายปริศนาร้อยกรองชนิดต่างๆ ทั้งโคลง กาพย์ กลอน ฉันท์ ประวัติความเป็นมาของการละเล่นชนิดนี้คาดว่าเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 แรกเริ่มเป็นการละเล่นของคนจีน เรียกว่า “ผะหมี” (ผะ แปลว่า ตี, หมี แปลว่า ปัญหา หรือปริศนา) แล้วคนไทยจึงเลียนรูปแบบการเล่น แต่เปลี่ยนจากโคลงกลอนภาษาจีนมาใช้ร้อยกรองภาษาไทย เป็นที่นิยมเล่นในหมู่ราษฎรและเจ้านายในราชสำนัก
==> การทายโจ๊ก